วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อแตกต่างระหว่าง Site กับ Blogger

Google site เป็นเว็บไซต์ที่ฟรีและง่ายดายในการสร้างและใช้หน้าเว็บร่วมกัน สร้างหน้าเว็บที่เพียบพร้อมได้อย่างง่ายดาย รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียว ควบคุมผู้ที่สามารถดูและแก้ไข
Google site คือวิธีการง่ายๆในการสร้างหน้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยสำหรับอินเทอร์เน็ตและโครงการทีม ไม่ต้องเขียนโค้ดหรือ HTML
จัดการข้อมูลได้ในพื้นที่ศูนย์กลาง
ใช้ Google site เพื่อรวมเอกสาร สเปรดชีต งานนำเสนอ วิดีโอ ภาพสไลด์ และอีกมากมายไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อช่วยให้ทีมทำงานอย่างเป็นระเบียบ
เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
Google site ขับเคลื่อนด้วยเว็บไซต์อย่างปลอดภัย คุณจึงสามารถเข้าถึงหน้าเว็บของบริษัทได้จากโต๊ะทำงาน บนท้องถนน ที่บ้าน และบนโทรศัพท์มือถือของคุณ
ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการ
Google site ทำงานในบราวเซอร์บนคอมพิวเตอร์ PC, Mac และ Linux
การควบคุมการรักษาความปลอดภัย ของระบบและระดับเว็บไซต์
ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการสิทธิ์การแบ่งปันไซต์ให้กับทั้งธุรกิจ และผู้เขียนสามารถแบ่งปันและยกเลิกการเข้าถึงไฟล์เมื่อใดก็ได้
Google site จะช่วยให้เริ่มต้นสร้างเว็บอย่าง ง่ายที่สุด และเราสามารถสร้างหน้าตาเว็บและสามารถเลือก หรือตกแต่งได้อย่างมืออาชีพ ในพื้นที่มากถึง 100 เม็ก เริ่มต้นได้ง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
กำหนดชื่อไซต์ และสร้างหน้าเว็บแรก
สร้างหน้าเว็บรองลองไป ไม่ต้องกังวล โปรแกรมจะสร้างเมนูให้อัตโนมัติ หรือจัดการภายหลังก็ได้
เลือกประเภทหน้าเว็บที่คุณจะสร้าง: หน้าเว็บธรรมดา, แบบประกาศ, ตู้เก็บไฟล์ เป็นต้น
ใส่ชื่อไซต์ให้เรียบร้อยด้วย
กำหนดว่าจะเก็บหน้าที่คุณสร้างขึ้น ไว้ดูคนเกียว หรือให้คนอื่นเข้าดูได้
เนื้อหาที่คุณสร้างขึ้น จะถูกบรรจุไว้ในฐานข้อมูลการค้นหาในลำดับต่อไป ถ้าคุณอนุญาต
อ่านแล้วคุณต้องงแน่ๆ เลย ไหนบอกว่าไม่ยากไง เอาหละอดใจรอ ผมจะขยายความต่อไป

Google Blog หรือ Blog Search เป็นเทคโนโลยีการค้นหาของ Google ที่เน้นเกี่ยวกับบล็อก Google เชื่อมั่นในปรากฏการณ์การเผยแพร่ข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้บล็อก และเราหวังว่า Blog Search จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสำรวจอาณาจักรของบล็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และอาจเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนเข้าร่วมปรากฏการณ์ใหม่นี้ด้วยตนเอง ไม่ว่าคุณจะกำลังค้นหาบทวิจารณ์เกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ ความคิดเห็นทางการเมือง สูตรสลัดสำหรับหน้าร้อน หรืออื่นๆ Blog Search ช่วยให้คุณสามารถค้นหาสิ่งที่ผู้คนพูดถึงเกี่ยวกับหัวข้อใดๆ ที่คุณต้องการ
ผลการค้นหาของคุณจะรวมบล็อกทั้งหมด ไม่เฉพาะบล็อกที่เผยแพร่ผ่าน Blogger เท่านั้น ดัชนีบล็อกของเราจะมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคุณจะได้รับผลการค้นหาที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องมากที่สุดเสมอ และคุณสามารถค้นหาได้ไม่เฉพาะบล็อกที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังสามารถค้นหาบล็อกที่เป็นภาษาฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน สเปน เกาหลี โปรตุเกสในบราซิล ดัตช์ รัสเซีย ญี่ปุ่น สวีเดน มลายู โปแลนด์ ไทย
อินโดนีเซีย ตากาล็อก ตุรกี เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ได้ด้วย

บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง
         ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย - Wikipedia
         สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง
         Blog ส่วนใหญมักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดู
         Blog มักจะมาคู่กับระบบ Comment ที่เปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ Comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้ คล้ายๆรูปแบบของ Webboard ไม่ว่าจะเป็นติชม แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือบอกแหล่งข้อมูลใหม่ๆ หรืออาจจะแค่ทักทายเจ้าของ ฺBlog ก็เป็นได้ ถ้าคุณลองเลื่อนไปดูด้านล่างของเรื่องนี้ จะพบช่องให้กรอก Comment ทิ้งข้อความไว้ให้ผมได้ 
         Blog อาจจะมีบริการทั้งเสียเงิน และไม่เสียเงิน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากมายนัก
         โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็นกันเอง
         แต่ในปัจจุบัน บริษัทใหญ่ๆ ก็หันมามี Blog เป็นของตัวเองกันมาก ไม่ว่าจะเป็น Google , Yahoo เพราะ Blog สามารถทำตัวเป็น PR ให้กับบริษัทได้ โดยสร้างความรู้สึกเป็นกันเอง ไม่มีพิธีอะไรมาก สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องเป็นทางการมากนัก และลูกค้าก็ชอบที่จะติดต่อสื่อสารผ่านทาง Blog ด้วย




ความแตกต่างระหว่าง site และ  blogger


Google Site

1.เก็บไฟล์ต่างๆไว้ในไซต์ได้อย่างมากมาย

2.มี link ต่างๆทั้งภายนอกและภายใน
3.สามารถจัดการกับบทความให้อยู่ในรูปแบบต่างๆได้

4.สามรถจัดเรียงลำดับข้อมูลได้ตามที่ต้องการ
5.สามารถแนบไฟล์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ลงสู่ไซด์ได้
6.ไม่มีที่ให้แสดงความคิดเห็นของบทความ
7.ไม่สามารถใส่โค้ดของรูปแบบต่างๆได้
8.ไม่สามารถใส่แผนที่ต่างๆได้
9.ไม่สามารถใส่ปฏิทินได้


blogger

1.ไม่สามารถเก็บไฟล์ต่างๆได้
2.ไม่สามารถทำ link ได้
3.บทความไม่สามารถแยกกันตามที่ต้องการได้
4ไม่สามารถจัดเรียงข้อมูลได้ตามต้องการ จะต้องจัดเรียงตามวันที่เท่านั้น
5.ไม่สามรถแนบไฟล์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ลงสู่บล็อกได้
6.สามารถใส่ความคิดเห็นได้
7.สามารถใส่โค้ดรูปแบบต่างๆได้
8.สามารถใส่แผนที่ได้
9.สามารถใส่ปฏิทินได้

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

Internet..


อินเตอร์เน็ต   มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)     
           มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA)  และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
          ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
           ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด
สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

           การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย


โดเมนเนม (Domain name system :DNS)

            เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข


โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจ
ด้านเครือข่าย
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. PAN ( PERSONAL AREA NETWORK) เครือข่ายแบบบุคคล


-เชื่อมโยง อุปกรณ์การสื่อสารหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน
-ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 1 เมตร
-ความเร็ว ประมาณ 10  Mbps
-ใช้สื่อ IrDA Port, Bluetooth, Wireless
2.LAN ( LOCAL AREA NETWORK) เครือข่ายแบบท้องถิ่น


-เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันติดต่อ เชื่อมโยงในระยะใกล้  เช่น ภายในตึก องค์กร สำนักงาน
-ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
-ความเร็ว ประมาณ 10 – 100 Mbps
-ใช้สื่อ Coaxial, UTP, STP, Fiber Optical, Wireless
3. MAN (METROPOLITAN AREA NETWORK)


-เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่นติดต่อข้ามจังหวัด
-ระยะทาง 100 กิโลเมตร
-ความเร็ว 1 Gbps
-ใช้สื่อ Fiber Optical, Microware, Satellit
4. WAN (WIDE AREA NETWORK)
-เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลมาก ครอบคลุมทั่วโลก
-ความเร็ว 10 Gbps
-ใช้สื่อ Microware, Satellite

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง search engine

การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

          ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็น
จะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหา
ข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ

ความหมายและประเภทของ  search engine

           การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เบ็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เรา
ต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Seaech Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

      

        Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณได้ทันที
  1. Keyword Index   เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ
    ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML
    ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา
    HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียง
    ลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียด
    ในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทาง
    ด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
     
  2. Subject Directories   การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด
    ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่
    ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine
    ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้
    และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
     
  3. Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ
    และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และ
    มักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึง
    ข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
การทำงานของ  search engine
การทำงานของ Search Engine จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ
  • Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล
    ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
  • ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของ
    เว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้
    รับความนิยมไปในที่สุด
  • โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ใน
    ฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมี
    ประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล
            ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน   แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา
            การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ค้นหานั้น เพื่อให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบเข้า สามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะต้องใช้เทคนิคในการค้นหาดังนี้

เทคนิคการค้นหาเพื่อให้ได้ผลลัพท์ตามต้องการ

บีบประเด็นให้แคบลงหัวข้อเรื่องที่คุณต้องการค้นหาต้องพยายามบีบประเด็นให้แคบลง เช่น คุณต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณอาจจะหาโดยใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ หรือ Computer นี้ค้นหา เพื่อลองดู
เนื้อหากว้างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีเรื่องใดบ้าง จากนั้นคุณก็บีบหัวข้อเรื่องลง โดยอาจจะเลือก
จากหัวข้อที่เว็บไซต์นั้นจัดทำ หรืออาจจะพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาอีกครั้ง
การใช้คำที่ใกล้เคียงควรค้นหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหาด้วย เช่น คุณต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ Computer คำที่เกี่ยวข้องที่สามารถใช้ค้นหาได้ คือ technology, IT เป็นต้น
การใช้คำหลัก (Keyword)คำหลัก (Keyword) หมายถึง คำหรือข้อความที่เราจะนึกถึงเว็บไซต์นั้นเมื่อเอ่ยถึง เช่น
สสวท. คุณจะนึกถึงเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.ipst.ac.th
หรือ schoolnet คุณจะนึกถึงเว็บไซต์เครือข่ายโรงเรียนไทย
http://www.school.net.th
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลขพยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่
เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วยใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย + เพื่อใช้กับคำที่คุณต้องการใช้ในการค้นหา และ -
เพื่อใช้กับคำที่คุณไม่ต้องการใช้ในการค้นหาเครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์
ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฎอยู่ในหน้าเว็บเพจ ข้อควรระวังคือ เราจะต้องใช้เครื่องหมายบวกติดกับ
คำหลักนั้นเสมอ ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก เช่น
+เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง"
อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ หรือ
+เศรษฐกิจ การเมือง สังเกตเห็นว่าที่คำว่า "การเมือง" ไม่ปรากฏเครื่องหมายบวก "+" อยู่ข้างหน้า
เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏ คำว่า "เศรษฐกิจ"
โดยในหน้าเอกสารนั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏคำว่า "การเมือง" ก็ได้

เครื่องหมายลบ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้า
เว็บเพจ เช่น
โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่
โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B
เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา

ตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้ำดอกไม้ หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้อง
ปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้า
เดียวกัน
หลีกเลี่ยงภาษาพูดหลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด
หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
Advanced Searchอย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ
ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ
แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option
หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์
การค้นหาด้วย Google

           Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านฐานข้มูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง ด้วยฐานข้มูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน ที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือ เป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก (รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ (รวมทั้งในประเทศไทย อีกแล้ว)
          เมื่อเราเปิดบราวเซอร์และพิมพ์ URL : www.google.com ลงไป ด้วยระบบตรวจสอบภาษาของเว็บไซต์ Google
เมื่อพบว่าเราใช้บราวเซอร์บนวินโดว์ภาษาไทยระบบจะสวิทช์เป้าหมายมายัง www.google.co.th โดยอัตโนมัติดังภาพข้างบน
            บริการค้นหาของ Google แยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด (ในแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย) คือ
  1. เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
  2. รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
  3. กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
  4. สารบบเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่
การค้นหาแบบเจาะลึก
         การค้นหาแบบเจาะลึกเกี่ยวกับเว็บ สามารถระบุรายละเอียดต่างๆ ได้ เพื่อให้สามารถจำกัดวงในการค้นหาให้แคบเข้า เช่น การกำหนดคำหลักที่ต้องการ คำที่คล้ายคลึงและคำที่ไม่ต้องการให้ปรากฏอยู่ด้วย กำหนดเฉพาะภาษา ชนิดของไฟล์ (เอกสารเว็บ(html) เอกสารเวิร์ด (word))  ช่วงระยะเวลาที่เอกสารนั้นสร้างขึ้น จากโดเมนเว็บไซต์ชื่ออะไร เป็นต้น

การค้นหาภาพระดับสูง
        การค้นหาภาพเพื่อให้สามารถค้นหาได้รวดเร็วควรใช้การค้นหาระดับสูง เพราะสามารถระบุชื่อหรือบางส่วนของชื่อ ชนิดรูปภาพเป็นไฟล์ฟอร์แมตใด (JPG, GIF, PNG) ชนิดของสี (Black/White, Grayscale, Color) ชื่อของโดเมนที่คาดว่าน่าจะมีภาพนั้นๆ

การค้นหาจากกลุ่มข่าว
       เว็บไซต์ที่เป็นกลุ่มข่าวนั้นโดยปกติจะมีการแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ที่น่าสนใจอยู่แล้ว เราสามารถคลิกที่ชื่อกลุ่มข่าวที่เราสนใจได้ทันที แต่บางทีเราอาจจะไม่แน่ใจว่าเรื่องที่เราสนใจนั้นอยู่ในกลุ่มข่าวใด เราก็สามารถใช้การค้นหาแบบพิเศษเข้าช่วยได้เช่นกัน

การค้นหากลุ่มข่าวแบบระบุรายละเอียด

      เราสามารถระบุข้อความที่ต้องการค้นหาจากกลุ่มข่าวด้วยคำ หรือบางส่วนของข้อความ เช่นเดียวกับการค้นหาเว็บเพจ แต่สา  มารถคัดเลือกเอาเฉพาะคำที่ปรากฏในกลุ่มข่าว ผู้เขียน หมายเลขข้อความ ภาษาที่ใช้ รวมทั้งช่วงระยะเวลาตามที่ต้องการได้ด้วย

การกำหนดเงื่อนไขของการค้นหาใน Google

        ในเว็บไซต์ของ Google มีความสามารถในการตั้งค่าหรือเงื่อนไขในการค้นหาได้ ด้วยการเข้าไปกำหนดที่หน้าตัวเลือกภาษา เหมาะกับท่านที่ต้องใช้เว็บไซต์ในการค้นหาเฉพาะภาษาหนึ่ง ภาษาใดโดยเฉพาะ หรือที่เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นประจำ จะช่วยในการค้นหาทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

Lead more :  http://203.172.220.170/nidt/internet/5.htm

ความรู้เกี่ยวกับ youtube


 YouTube เป็นการดำเนินธุรกิจประเภทที่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจาก กูเกิร์ล โดยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2548 (February 15,2005) บุคคลที่เป็นแกนนำสำคัญ คือ ชาร์ด เฮอร์เลย์ (Chad Hurley) เป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร (CEO) สตีฟว์ เชน (Steve Chen) เป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) และ จาร์เวด การิม (Jawed Karim) เป็น ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษา ในปี 2549 ยูทรูฟมีพนักงานหรือลูกจ้างในการปฏิบัติงาน 67 คน ซึ่งยูทรูฟนั้นอยู่ในธุรกิจการดำเนินงานหรือเป็นเจ้าของโดย กูเกิร์ล(Google) มีสโลแกนเพื่อกระตุ้นจูงใจว่า คลื่นเสียงนี้เป็นของคุณ (Broadcast Yourself)”
และมีเว็บไซต์ www.youtube.com ยูทรูฟ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จากการให้บริการวิดีโอแบบไม่มีค่าใช้จ่าย(free video sharing) และเปิดบริการเว็บไซต์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปอัฟโลดน์(upload) เพื่อ ให้เห็นภาพและแลกเปลี่ยนภาพและเสียงผ่านคลิ๊ปวิดีโอ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 จากการปฏิบัติงาน ของ 3 องค์กรร่วมกัน ได้แก่ PayPal , San Bruno (ซึ่งเป็นผู้ให้สิทธิในการบริการ) และ Adobe Flash ซึ่ง นำเสนอหรือดูแลในส่วนของวิดีโอ ยูทรูฟมีการบริการที่กว้างขวางและหลากหลาย โดยเนื้อหาการบริการจะรวมไปถึง ภาพยนตร์ และ รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในช่วงเวลาสั้น ๆ (TV clips) และมิวสิควิดีโอ ซึ่งเป็นการบริการที่ดีเหมือนกับการใช้การรับส่งวิทยุโดยมือสมัครเล่น แต่เนื้อหาเช่นเดียวกันกับการรับส่งวิดีโอ (videoblogging) ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมงานหลัก 67 คน ของยูทรูฟ ได้รับการยกย่อง จากบริษัทที่ถูกเรียกชื่อว่า TIME แม็กกาซีน ให้เป็น นักคิดหรือนักประดิษฐ์แห่งปีประจำปี 2549 และในเดือนตุลาคม 2549
เช่น กันที่ กูเกิร์ล ได้ประกาศว่ายูทรูฟได้ขยายขอบเขตการให้บริการได้จำนวนมากเป็นไปตามความต้อง การของบริษัท ซึ่งมีมูลค่าถึง 1.65 ล้านล้านเหรียญสหรัฐตามข้อมูลของกูเกิร์ล ที่บันทึกไว้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2549 สำนักงานใหญ่ของยูทรูฟแรกเริ่มตั้งขึ้นใน ซาน เมททิโอ (San Mateo) ยูทรูฟถูกก่อตั้งขึ้นโดย ชาร์ด เฮอร์เลย์ (Chad Hurley) สตีฟว์ เชน (Steve Chen) และจาร์เวด การิม (Jawed Karim) ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้เริ่มแรกโดยการเป็นพนักงานของ PayPal ซึ่งรองประธานบริษัท PayPal คือ เฮอร์เลย์ (Hurley) ศึกษาการออกแบบที่ มหาวิทยาลัยอินเดียน่าของเพลซิลวาเนีย (Indiana University of Pennsylvania) ส่วน Chen และ Karim ศึกษาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ด้วยกันที่มหาวิทยาลัยอิลินอยส์ (University of Illinois at Urban-Champaign) โดยได้ใช้ชื่อจดทะเบียนว่า “ YouTube.com” และ เริ่มดำเนินการเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2548 และเว็บไซต์นี้ก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเดือน ฝ่ายพัฒนาและสร้างสรรค์งานได้จัดให้มีการทดลองเผยแพร่เว็บไซต์นี้ในเดือน พฤษภาคม 2548 และใน 6 เดือนต่อมายูทรูฟ ก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน
ยูทรูฟเป็นเทคโนโลยีของการเล่นวีดีโอ ที่สามารถอัดเก็บไว้ได้และนำมานำเสนอได้ใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของการโปรแกรม Macromedia’s FlashPlayer 7 และใช้โปรแกรมบันทึกวิดีโอแบบ Sorenson Spark H.263 อีกทั้งเทคโนโลยีนี้มีความสอดรับกับยูทรูฟ ที่จะสามารถใช้วิดีโอเล่นภาพและเสียงได้อย่างมีคุณภาพเทียบเคียงได้กับการ วิดีโอที่เล่นอยู่ที่บ้านและสามารถนำกลับมาเล่นซ้ำได้เหมือนกับ Windows Media Player, Realplayer หรือ Quicktime Player ของแอปเปิ้ล(Apple) ที่ผู้ใช้โดยทั่วไปต้องการที่จะ ดาวน์โลด(Download) และติดตั้งเบาซ์เซอร์ (browser plug-in) และเสียบสายเชื่อมต่อเพื่อจะดูวิดีโอ หากต้องการใช้ภาพเคลื่อนไหวด้วยตัวมันเองก็เพียงแต่เชื่อมต่อ แต่การใช้โปรแกรม Flash 7 ตอบสนองต่อการเล่นของผู้ใช้ได้ดีราว ๆ 90 % เมื่อทำการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต หรือในอีกทางหนึ่งผู้ใช้ (Users) สามารถเข้าไปใช้โดยเข้าเป็นสมาชิกของ เว็บไซต์เพื่อที่จะทำการ Download วิดีโอมาติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์ของตนเอง
การ ใช้วิดีโอเพื่อเล่นภาพและเสียงเคลื่อนไหวเป็นที่ชื่นชอบและเป็นองค์ประกอบ สำคัญที่ทำให้ ยูทรูฟประสบความสำเร็จ และการยอมให้ผู้ชมเข้าไปดูวิดีโอได้ทันทีทันใด โดยไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมหรือต้องไปจัดการกับปัญหาเดิม ๆ ที่ผู้ใช้เคยมีประสบการณ์กับเทคโนโลยีวิดีโอจากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่การใช้เทคโนโลยีเข้ากันไม่ได้ หรือมีการใช้วีดีโอสำหรับผู้เล่นวีดีโอหลายระดับมาก ก็เหมือนกับหลาย ๆ เทคโนโลยีที่ริเริ่มขึ้นมา ยูทรูฟได้ถูกเริ่มต้นขึ้นเหมือนกับวิสาหกิจ Angel Investor ที่ เป็นธุรกิจเล็ก ๆ และสำนักงานที่มีมูลค่าไม่สูงนัก หรือเหมือนอู่รถยนต์ ในพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มีกองทุนหนึ่งเข้ามาบริหารความเสี่ยง “Sequoia
Capital” และลงทุนให้กับ ยูทรูฟ ถึง 3.5 ล้านเหรียญ ฯ

Read more: http://www.keedkean.com/knowledge/KK0000005.html?page_article=1#ixzz1IB5fsBYI

ข้อควรทราบเกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ข้อแนะนำ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

        ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ท่าน "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้
- อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
- อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
- อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
- อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
- อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
- อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
- อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
- อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
- อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

  ผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการ อาจจะเป็นท่าน หรือหน่วยงานของท่าน ผู้ให้บริการมีหน้าที่และสิ่งที่ต้องทำมากกว่าบุคคลทั่วไป สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจ คือ
ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ
ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้ ต้องทำตามหน้าที่ของ ผู้ให้บริการ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ
"มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง...
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท"
เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษา Traffic data ของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการทุกแบบ สามารถทำหน้าที่เก็บ logfile ของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความจำเป็นขั้นต่ำ ประกาศดังกล่าวนี้ ยังเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดธุรกิจบริการรับฝากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ เพราะจะมีผู้ให้บริการขนาดเล็กจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทำตาม พรบ.นี้ได้ด้วยตนเอง


 หลักในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้

       ในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้น่าเชื่อถือ ขอให้ท่านยึดหลักการง่ายๆดังนี้
ข้อมูลที่เก็บ ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นใคร เข้ามาทางเครือข่ายทางประตูใด มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรมประยุกต์อะไร ในห้วงเวลาใด
นาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร ต้องมีการตั้งเวลาให้ตรงกับนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิง เช่น ที่ NIST (สหรัฐอเมริกา) กรมอุทกศาสตร์ (กองทัพเรือ) สถาบันมาตรวิทยา (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หรือใช้เทียบเวลากับเครื่อง time server ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เนคเทค (ntp://clock.nectec.or.th) ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายทั่วไป รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานทั่วไป สามารถตั้งเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานโลกได้ด้วยความแม่นยำในระดับ 1 มิลลิวินาทีหรือดีกว่านี้
ข้อมูลจราจร ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข หรือสื่อข้อมูลเสื่อมคุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน

Read more :
http://www.mict.go.th/more_news.php?cid=47
http://www.thaiall.com/article/law.htm

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง BLOG

       บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
        บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

ความนิยม
       
        บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

การใช้งาน BLOG

           ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

Lead more :  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81